ค้นหาสินค้า

ค่า Demurrage Charge และค่า Detention Charge คืออะไรสําหรับการนําเข้าสินค้า

20-10-2021 09:29:29

ในการนําเข้าสินค้ามีผู้ประกอบการหลายรายได้มีการสั่งสินค้าเข้ามาโดยการนําสินค้าเข้ามานั้น ได้นําเข้ามาบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์เข้ามา
เมื่อมีการส่งมอบสินค้าออกมาจากท่าเรือนําเข้านั้นในบางครั้งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดย
ทางบริษัทสายการเดินเรือที่เป็นเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์เป็นผู้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นซึ่งจะแยกค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนี้

ค่า Demurrage Charge: คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับการขนส่งทางเรือโดยการนําเข้ามาเป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบ FCL ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ทางสายเรือจะเป็นผู้กําหนดเวลาในการนําเข้าโดยการนับจากวันเรือเข้าโดยเป็น ผู้กําหนดเวลานับจากวันเรือเข้าเป็นต้นไป เช่น ให้ FreeTime จํานวน 5 วันนับจากวันเรือเข้าเมื่อเข้าวันที่ 6 ทางผู้ประกอบการจะต้องชําระค่า Demurrage Charge ให้กับทางสายเรือก่อนจึงจะสามารถนําตู้สินค้าออกจากท่าเรือที่นําเข้าได้ ในส่วนค่า Demurrage Charge นั้นจะเป็นระยะเวลาเท่าไรกี่วันนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ประกอบการกับทางสายเรืออาจจะ เป็น 5 วัน, 7 วัน, 15 วันอยู่ที่ข้อตกลงในขั้นตอน Book เรือ

ค่า Detention Charge: คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการคืนตู้เปล่าช้าเกินกําหนดซึ่งทางสายเรือจะเป็น
ผู้กําหนดเวลาในการคืนตู้เปล่า เช่นผู้นําเข้าได้มีการรับมอบสินค้าลากตู้คอนเทนเนอร์ออกมาจากท่านําเข้าเมื่อนําสินค้าไปถึงโรงงานและได้ทําการนําสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์และจะต้องนําตู้คอนเทนเนอร์คืนลานรับตู้เปล่าที่ทางสายเรือเป็นผู้กําหนดสถานที่คืนตู้ ต่อมาปรากฏว่าด้วยเหตุผลประการใดก็แล้วแต่ทําให้ไม่สามารถส่งคืนตู้เปล่าได้ตรงตามกําหนดเวลา ก็จะถูกเรียกเก็บค่า Detention Charge จากสายเรือ ซึ่งระยะเวลาในการคืนตู้เปล่าจะนับจากวันที่ได้ลากตู้ออกจากท่าเรือ ซึ่งในระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อตกลงกับทางสายเรืออาจจะเป็น 3 วัน, 5 วัน, 7 วันนั้นขึ้นอยู่
กับข้อตกลงกับทางสายเรือ

สรุปได้ว่า ค่า Demurrage Charge และค่า Detention Charge นั้นเป็นค่าเสียเวลาในการนําตู้คอนเทนเนอร์ไปใช้งานต่อทําให้ทางสายเรือเสียโอกาส

แนวทางป้องกันค่าใช้จ่าย Demurrage Charge/ Detention Charge

กรณีนำเข้าสินค้า
- ขอ free time กับทางสายเรือเพิ่ม
เราสามารถแจ้งกับ Freight forwarder ที่จะทำการจองเรือให้กับเรา ว่าต้องการ Free time กี่วัน สำหรับ Demurrage / Detention ต้องแจ้งก่อนจองเรือ และทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการอนุมัติของสายเรืออีกด้วย
- วางแผนการเคลียร์สินค้า และการขนส่งหลังเคลียร์
หลายครั้งที่ค่าใช่จ่ายเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องมาจาก การติดขัดในขั้นตอนการเคลียร์สินค้า ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ยังคงค้างอยู่ที่ท่าเรือจนเกินกำหนดเวลาที่สายเรือกำหนด ดังนั้นการจะป้องกัน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงต้องเริ่มที่จัดเตรียมเอกสารต่างๆสำหรับการเคลียร์ให้พร้อมก่อนที่เรือจะถึงท่า
- วางแผนและเลือกตารางเรือที่มาถึงไทยโดย ไม่ติดวันหยุดยาว
ผู้นำเข้าสามารถวางแผนร่วมกับ Freight forwarder เลือกตารางเรือที่จะถึงไทยโดยไม่ติดวันหยุดยาว เพราะศุลกากรจะหยุดจะทำให้เคลียร์สินค้าออกมาไม่ได้

กรณีส่งออก
ผู้ส่งออกต้องเลือกตารางเรือที่เหมาะสมกับการโหลดสินค้าเข้าตู้ และระยะเวลาการขนส่งภายในประเทศ ซึ่งควรปรึกษากับ Freight forwarder ที่ทำการจองเรือให้ช่วยเช็ค กำหนดการ และวันเวลา การรับตู้ และการคืนตู้ เพื่อที่เราจะได้ดำเนินการให้ได้ตามกำหนดการ

บทความโดย คุณมานะ พุ่มสอาด ผู้จัดการสาขาแหลมฉบัง
วันที่ 28 พฤษภาคม 2564